NGG ร่วมใจกัน อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ในอาคาร
ปัจจุบัน เราต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศถึงปีละเกือบสามแสนล้านบาทส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ใช้มากเกินความจำเป็น ไม่ได้คิดก่อนใช้ ทำให้เกิดการรั่วไหล สูญเปล่าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จริงๆ แล้ว หากเราคิดก่อนใช้ เราจะประหยัดพลังงานลงได้อีกอย่างน้อยก็ร้อยละ 10 นั่น หมายถึง การประหยัดเงินที่ต้องใช้จ่ายออกไปนอกประเทศเกือบสามหมื่นล้านบาท
บริษัท เอ็นจีจี เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด มีการใช้พลังงานไฟฟ้าหลายรูปแบบ เช่น ระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ และการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ แต่จะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะงาน และ ผู้ใช้อาคารทุกคนจะร่วมมือกันประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นการร่วมอนุรักษ์พลังงาน ทางบริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานขึ้น เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีในการประหยัดพลังงานให้กับพนักงาน และเพื่อปรับปรุงการจัดการด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง จึงได้ กำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
1. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
- ปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกการใช้งานหรือหมดความจำเป็นต้องใช้งาน
- เปิดม่านหรือหน้าต่างหรือติดตั้งกระเบื้องโปร่งแสงเพื่อรับแสงสว่างจากธรรมชาติ แทนการใช้แสงสว่างจากหลอดไฟ
- กำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดไฟให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ใช้งาน
- จัดระบบสวิตซ์ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ปรับเป็นสวิตซ์เปิดปิดแบบแถวยาว แยกดวง เป็นต้น
- ติดสติกเกอร์บอกตำแหน่งไว้ที่สวิตซ์เปิดปิดหลอดไฟเพื่อเปิดใช้งานได้อย่างถูกต้อง
- ใช้อุปกรณ์และหลอดไฟชนิดประหยัดพลังงานที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดนีออน) แบบผอมแทน หลอดแบบธรรมดา
- ใช้หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ แทนหลอดไส้ (ประหยัดไฟฟ้าร้อยละ 75) ใช้โคมสะท้อนแสงแบบประสิทธิภาพสูงและใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์แทนบัลลาสต์แบบธรรมดา
- ทำความสะอาดหลอดไฟอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพราะฝุ่นละอองที่เกาะอยู่จะทำให้แสงสว่างน้อยลงและอาจทำให้ต้องเปิดไฟหลายดวงเพื่อให้ได้แสงสว่างเท่าเดิม
- เมื่อพบว่าหลอดไฟ สายไฟ ชำรุดหรือขาหลอดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำควรเปลี่ยนทันทีเพื่อป้องกันอัคคีภัย เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร
- รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า แสงสว่างอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ติดสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการ การอบรมให้ความรู้ เป็นต้น
2. ระบบเครื่องปรับอากาศ และ พัดลมระบายอากาศ
- ปิดเครื่องปรับอากาศทันทีเมื่อไม่ต้องการใช้งาน และเมื่อต้องการปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง ควรอย่างน้อย 15 นาที
- ปิดเครื่องปรับอากาศทันทีหากไม่อยู่ในห้องนานกว่า 1 ชั่วโมง และปิดก่อนเวลาเลิกงานเนื่องจากยังคงมีความเย็น อยู่จนถึงเวลาเลิกงาน
- ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไม่ต่ำกว่าที่ 25 องศาเซลเซียส เนื่องจากหากตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นทุก 1 องศา จะช่วยประหยัดไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
- แยกสวิตซ์ปิดเปิดเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบาย อากาศออกจากกัน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศไว้ตลอดเวลาที่ใช้เครื่องปรับอากาศ
- เปิดหน้าต่างให้ลมพัดเข้ามาในห้องช่วงที่อากาศไม่ร้อน แทนการเปิดเครื่องปรับอากาศ จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
- ตรวจวัดประสิทธิภาพการไหลเวียนหรือการถ่ายเทของอากาศในห้องปรับอากาศ หากมีการไหลเวียนของอากาศไม่เพียงพอให้แก้ไขโดยติดตั้งพัดลมระบายอากาศ โดยขนาดของพัดลมระบายอากาศต้องมีความเหมาะสมกับขนาดของห้อง
- ไม่นำต้นไม้มาปลูกในห้องที่มีเตรื่องปรับอากาศเพราะต้นไม้จะคายไอน้ำ ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น
- ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปล่อยความร้อน เช่น กาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น ออกไว้นอกเครื่องปรับอากาศโดยเฉพาะเครื่องถ่ายเอกสารนอกจากจะปล่อยความร้อนออกสู่ห้องปรับอากาศทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้าแล้ว ผงหมึกจากเครื่องจะฟุ้งกระจายอยู่ในห้อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานบริเวณนั้น
- ตรวจสอบและอุดรอยรั่วที่ผนัง ฝ้าเพดาล ประตู ช่องแสง เพื่อป้องกันความเย็นรั่วไหลจากปรับอากาศ
- ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอยู่เสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยประหยัดไฟฟ้าร้อยละ 5-7
- กำหนดตารางการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และมีคู่มือปฏิบัติงาน12.รณรงค์สร้างจิตสึกในการประหยัดไฟฟ้าจากการใช้เครื่องอากาศอย่างจริงจังและต่อเนื่งด้วย วิธีการต่าง ๆ เช่น ติดสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการ การอบรมให้ความรู้
3. ระบบลิฟต์
- มีแผนการตรวจเช็คระบบการทำงานของระบบลิฟต์
- ใช้บันไดกรณีขึ้นลงชั้นเดียว
- ควรติดตั้งโปรแกรมให้ลิฟต์หยุดเฉพาะชั้นหรือชั้นคู่ เนื่องจากลิฟต์ใช้ไฟฟ้ามากในขณะออกตัว
- ก่อนปิดประตูลิฟต์ให้เหลียวดูเพื่อหาเพื่อนร่วมทางช่วยกันประหยัดไฟฟ้า
อุปกรณ์สำนักงาน
4. คอมพิวเตอร์ (Computer)
- ตั้งโปรแกรมระบบประหยัดพลังงานในคอมพิวเตอร์/ปิดจอภาพเมื่อไม่มีการใช้งานนานเกินกว่า 15 นาที /ตั้งโปรแกรมพักหน้าจอ
- ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หลังเลิกงาน
- เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน
5. เครื่องพิมพ์ผล (Printer)
- ปิดเครื่องพิมพ์ผลเมื่อไม่ใช้งาน
- ควรตรวจทานข้อความบนจอภาพโดยใช้คำสั่ง Print Preview ก่อนพิมพ์
- ใช้กระดาษใช้แล้ว 1 หน้า (Reused Paper) สำหรับพิมพ์เอกสารที่ไม่สำคัญหรือเพื่อต้องการตรวจทานความถูกต้องของข้อความ และเลือกชนิดของการพิมพ์ (Mode) ประหยัด (Economy Fast) เพื่อเป็นการประหยัดหมึกพิมพ์
- ใช้ Electronic Mail (E-mail) โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร
6. เครื่องโทรสาร (Facsimile Machine)
- ถ้าเป็นเครื่องโทรสารชนิดเลเซอร์และชนิดพ่นหมึก ควรนำกระดาษใช้แล้ว 1 หน้า (Reused Paper) มาใช้กับเครื่องเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ
- ใช้ Electronic Mail (E-mail) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลในรูป File ทั้งชนิด Word processing , Spread Sheet และ Graphic เป็นต้น แทนการพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร
7. เครื่องถ่ายเอกสาร
- สั่งระบบประหยัดพลังงาน ควรตั้งเวลาหน่วง 30 นาที ก่อนเข้าสู่ระบบประหยัดพลังงานทั้งนี้เครื่องถ่ายเอกสารต้องใช้เวลาในการอุ่นเครื่อง 1-2 นาที ก่อนจะกลับสู่สภาวะใช้งานอีกครั้ง ซึ่งถ้าตั้งเวลาหน่วงน้อยไปเมื่อจะใช้เครื่องอีกจะต้องเสียเวลารออุ่นเครื่องบ่อย อาจจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกรำคาญในการรอถ่ายเอกสาร
- ปิดเครื่องถ่ายเอกสารหลังเลิกงาน และถอดปลั๊กออกด้วย เนื่องจากถ้ายังเสียบปลั๊กอยู่เครื่องถ่ายเอกสารจะใช้กำลังไฟฟ้าในการอุ่นเครื่องถึง 10- 15 วัตต์
- ใช้กระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า (Reused Paper) โดยเป็นกระดาษที่ยังอยู่ในสภาพใช้งานได้
ทั้งนี้ในทุกระบบของการใช้พลังงานไฟฟ้าในทุกประเภท จะต้องมีการกำหนดตารางการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีแผนการตรวจเช็คและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เขียน : NGG คอนเทนต์ ครีเอเตอร์