สงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบหนักต่อราคา “เพชร” พุ่งสูงขึ้น

เศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบหนักอย่างต่อเนื่อง สำหรับสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่รุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้สินค้าส่ง ที่สำคัญของรัสเซียกำลังขาดแคลนเป็นอย่างหนัก นั่นก็คือ “เพชร” เพราะรัสเซียคือผู้ผลิตเพชรดิบราว 28% ของโลก โดย 90% มาจาก Alrosa บริษัทที่รัฐบาลรัสเซียถือหุ้นใหญ่ตามข้อมูลของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ

Bain & Company และ Antwerp World Diamond Centre (AWDC) ให้การรายงานว่า  ธุรกิจเพชรกำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด เมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2021 ธุรกิจเหมืองเพชรมีรายได้เพิ่มขึ้น 62%, ธุรกิจเจียระไน 55% และ ธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับเพชรอีก 29% ทั้งหมดเพิ่มขึ้นเหนือระดับก่อนเกิดโรคระบาด +13%, +16% และ +11% ตามลำดับ และยอดขายเครื่องประดับเพชร เมื่อปีที่แล้วสูงมากถึง 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์ และความต้องการของผู้บริโภคยัง ยังคงเพิ่มขึ้น แม้ราคาเพชร จะสูงขึ้นก็ตาม

จากรายงานของ RapNet Diamond Index กล่าวว่า ตลอด ปี2021 ที่ผ่านมาแล้วราคาเฉลี่ยของเพชร 1 กะรัตสูงขึ้น 17.4% และราคายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 6.9% ในเดือนมกราคม พอล่วงเข้าเดือนกุมภาพันธ์เกิดสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน พร้อมกับมาตรการการคว่ำบาตรรัสเซียจากนานาชาติ ซึ่งคาดว่าอุปทานของเพชรหายไปมากกว่า25% เลยทีเดียว จึงมีความเป็นไปได้ที่ราคาเพชรอาจจะปรับตัวสูงขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้

ซึ่งคาดว่าการคว่ำบาตรต่อ Alrosa เป็นเพียงการห้ามการทำธุรกรรมตราสารหนี้และตราสารทุนเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ยังสามารถซื้อและขายเพชรที่ขุดจากรัสเซียได้ แต่ต้องเจอกับข้อจำกัด เพราะการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของรัสเซีย ดังนั้นการทำธุรกรรมใดๆ กับบริษัททางรัสเซียจึงทำได้ยากขึ้น รวมทั้งการตอบโต้ด้วยการปิดน่านฟ้าของรัสเซียก็อาจจะทำให้การส่งมอบสินค้ามีความล้าช้า ซึ่งจะส่งผลต่อราคาเพชรในอีก 3- 4 เดือนข้างหน้าเป็นอย่างมาก

แม้ว่าผลกระทบของการคว่ำบาตรอาจจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ในแง่ของผู้บริโภค และธุรกิจค้าปลีกบางเจ้า ก็นำเพชรจากรัสเซียออกจากเว็บไซต์ของตน อาทิ
Brilliant Earth ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่าจะขายเพชรจากแหล่งผลิตที่มีจริยธรรมเท่านั้น และ Jewelers of America สมาคมการค้าที่ไม่แสวงหากำไร ก็แนะนำให้สมาชิกหยุดซื้อหรือขายเพชรและอัญมณีที่มาจากรัสเซียหรือเบลารุสด้วยเช่นกัน

สรุปการคาดการณ์ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คาดว่าหากราคาเพชรที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ตลาด Lab Grown Diamond (LGD) หรือเพชรสังเคราะห์ ได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะราคาต่ำกว่าเพชรตามธรรมชาติราวๆ 30% แต่คงไม่สามารถ มาแทนที่ในฐานะเครื่องประดับระดับแมสได้ เนื่องจากคุณค่าไม่สามารถเทียบเท่าเพชรธรรมชาติได้ เนื่องจาก เพชรธรรมชาติ สามารถบ่งบอกถึงความหรูหราและเป็นเครื่องแสดงสถานะทางสังคมได้เป็นอย่างดี

ที่มา : สำนักข่าว Forbes

เรียบเรียงโดย : NGG คอนเทนต์ ครีเอเตอร์